“เจาะลึกกลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ในการจัดซื้อคอนกรีตสำเร็จรูป ที่จัดซื้อทุกคนควรรู้”
ในงานก่อสร้างทุกโครงการ การเลือกใช้คอนกรีตสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพและความสำเร็จของโครงการ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความท้าทายของทีมจัดซื้อคือการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ เช่น ความล่าช้าในการจัดส่ง หรือการได้รับสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ บทความนี้จะแนะนำ วิธีการจัดการความเสี่ยงที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง เพื่อช่วยให้คุณมั่นใจในทุกการสั่งซื้อ
1. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของซัพพลายเออร์
ความน่าเชื่อถือของซัพพลายเออร์เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คุณสามารถตรวจสอบได้ดังนี้ :
• ศึกษาประวัติการทำงานของซัพพลายเออร์ : ดูประวัติการส่งมอบสินค้า รีวิวจากลูกค้า หรือโครงการที่ผ่านมา
• ขอเอกสารการรับรองมาตรฐาน: มาตรฐานการผลิต มาตรฐานมอก. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการด้วย
• เยี่ยมชมโรงงาน : เพื่อประเมินกระบวนการผลิตและดูว่าสามารถรองรับปริมาณการสั่งซื้อของคุณได้หรือไม่
จัดซื้อสามารถใช้เกณฑ์นี้ในการประเมินความน่าเชื่อถือของซัพพลายเออร์ :
• คะแนนการส่งมอบตรงเวลา : ซัพพลายเออร์ควรมีอัตราการส่งมอบตรงเวลาไม่น้อยกว่า 95%
• ความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า : ตรวจสอบตัวอย่างสินค้าก่อนสั่งซื้อในปริมาณมาก
• รีวิวจากโครงการก่อสร้างก่อนหน้า : ขอข้อมูลจากลูกค้าเก่าเกี่ยวกับการส่งมอบและบริการหลังการขาย
2. จัดทำเอกสารที่ชัดเจนและครอบคลุม
การสื่อสารและการระบุรายละเอียดในเอกสารมีความสำคัญต่อการ ป้องกันความเข้าใจผิด ระหว่างคุณและซัพพลายเออร์
• ระบุ ปริมาณสินค้า วันส่งมอบ สถานที่ส่งสินค้า และสเปคที่ต้องการในเอกสาร
3. ใช้กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง
แทนที่จะพึ่งพาซัพพลายเออร์เพียงรายเดียว ควรมีซัพพลายเออร์สำรองเพื่อกระจายความเสี่ยงในกรณีที่ซัพพลายเออร์หลักไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนด วิธีนี้ช่วยให้โครงการของคุณดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
"ใช้ตัวชี้วัด (KPIs) เพื่อประเมินความเสี่ยง" เพิ่มความชัดเจนในการจัดการความเสี่ยงด้วยตัวชี้วัด เช่น :
• Lead Time: ระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนถึงส่งมอบ
• Defect Rate: อัตราส่วนของสินค้าที่มีปัญหาต่อสินค้าทั้งหมด
• Supply Chain Disruption Plan: ซัพพลายเออร์มีแผนรองรับกรณีฉุกเฉินหรือไม่
4. ติดตามสถานะการจัดส่งแบบเรียลไทม์
การมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องกับซัพพลายเออร์ช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มความมั่นใจในกระบวนการจัดซื้อ และเพื่อทราบสถานะของสินค้าในทุกขั้นตอน เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที
5. วางแผนล่วงหน้าเพื่อรองรับสถานการณ์ไม่คาดคิด
ความล่าช้าของสินค้าอาจเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในบางกรณี ดังนั้นจึงควร วางแผนการจัดซื้อให้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้าง รวมถึงเตรียมสต็อกสินค้าสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
วิธีจัดการสินค้าล่าช้า หากเกิดปัญหาสินค้าล่าช้า ควรดำเนินการดังนี้ :
• ติดต่อซัพพลายเออร์ทันที : แจ้งปัญหาและขอ Timeline การส่งมอบที่ชัดเจน
• จัดหาซัพพลายเออร์สำรอง : เตรียมผู้ขายรายอื่นที่สามารถส่งสินค้าในกรณีฉุกเฉิน
6. ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ที่มีประสบการณ์และเป็นมืออาชีพ
Comments